ข้อควรระวัง! เมื่อใช้ออกซิเจนเองที่บ้าน

ข้อควรระวัง! เมื่อใช้ออกซิเจนเองที่บ้าน

ระวัง...ตัวเรา - ต้องใช้ตามเกณฑ์ หรือ ตามที่แพทย์แนะนำ > ใช้ออกซิเจนสูงเกินไปอาจมีอันตรายต่อเนื้อเยื่อในระยะยาวได้

สังเกตปอดอักเสบจากโควิด - รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล (หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบาดการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล) แนะนำว่า ผู้ใดที่มีไข้เกิน 38.5 นานเกิน 2 วันเข้าข่ายปอดอักเสบจากโควิด

คำแนะนำ > ให้ออกซิเจนไหลในอัตรา 3 ลิตร/นาที และหลังจาก 5-10 นาที จะวัดแซตได้อยู่ระหว่าง 94-96% ถ้าได้ค่าน้อยกว่าหรือมากกว่าควรปรับให้ไหลในอัตราเพิ่มขึ้นหรือลดลงครั้งละ 1 ลิตร/นาที และวัดซ้ำอีก 5-10 นาทีถัดไป

*ถ้าเพิ่มอัตราไหลไปจนถึง 5 ลิตร/นาที แล้ว ยังไม่สามารถวัดแซตได้มากกว่า 92% ให้ทดลองนอนคว่ำเพื่อให้การแลกเปลี่ยนก๊าซดีขึ้น เมื่อนอนได้สักพักแล้วยังวัดค่าได้น้อยกว่า 92% ควรรีบติดต่อแพทย์หรือโรงพยาบาลที่รับผิดชอบหรือรีบนำส่งโรงพยาบาล

ดูแลปอดให้แข็งแรงเพื่อรับมือกับโควิดได้อย่างไร?
1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ : ในเวลาที่ออกกำลังกาย ปริมาตรอากาศจะไหลเข้าปอดในหนึ่งนาทีและเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่า ก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจมีความแข็งแรง และส่วนต่างๆของปอดก็ถูกนำมาแลกเปลี่ยนก๊าซได้เต็มที่ เวลาที่เกิดอาการปอดอักเสบปอดที่แข็งแรงนั้นก็จะทนทานต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซที่ผิดปกติได้นานขึ้นด้วยนะ
2. พักผ่อนให้เพียงพอ : ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และทำจิตใจให้สบายๆ จะช่วยสร้างเซลล์ให้ทำงานดีขึ้น และเสริมระบบป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่จะผ่านลงไปในหลอดลมและถุงลมปอดได้
3. หลีกเลี่ยงมลภาวะทางอากาศ : ควันบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้านี่ตัวดีเลยค่ะ ฝุ่นPM และก๊าซที่มีฤทธิ์ระคายเคืองด้วยนะ เพราะจะทำให้เยื่อบุผิวในหลอดลมและปอดถูกทำลาย เชื้อโรคทะลุทะลวงได้เชียวแหละ


ระวัง...อุปกรณ์ที่ใช้ให้ออกซิเจนที่บ้าน - แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
1. ถังออกซิเจน : หัวถังออกซิเจนการแพทย์(สีเขียว)จะมีวาล์วปรับและตรวจสอบแรงดัน เมื่อใช้ต้องต่อกระบอกใส่น้ำสะอาดสำหรับให้ความชุ่มชื้น แล้วต่อเข้ากับสายให้ออกซิเจนชนิดเสียบเข้ารูจมูกทั้งสองข้างและคล้องกับศีรษะจนกระชับ ระมัดระวังไม่ให้มีประกายไฟบริเวณใกล้เคียง และระวังไม่ให้ถัล้มเพราะหัววาล์วอาจหลุดและเกิดแรงดันให้ถังพุ่งอย่างแรงได้
*การเก็บถังออกซิเจน*
- เก็บให้ห่างจากความร้อนและเปลวไฟอย่างน้อย 5 ฟุต
- อย่าสูบบุหรี่ใกล้ๆ
- อย่าทำอาหารไปใช้ก๊าซไป หรือใช้เครื่องไฟฟ้าระหว่างใช้ถังออกซิเจน
- หากใส่ถังชช่วงนอนหลับ ให้ใช้ผ้าฝ้าย 100% ปูที่นอนเพราะจะช่วยลดการเกิดไฟฟ้าสถิตได้
- ห้ามใช้สเปรย์ หรือ ผลิตภัณฑ์ที่มีไอระเหยหรือน้ำมัน (สเปรย์ปรับอากาศ โลชั่น เจลแอลกอฮอล์ล้างมือต่างๆ)
- วางถังตั้งตรงและรัดให้แน่นเพื่อป้องกันการล้ม (ห้ามวางถังแนวนอนเด็ดขาด)
- ห้ามเก็บถังออกซิเจนไว้ในที่ปิด เช่น ตู้เสื้อผ้า
- ปิดเมื่อไม่ได้ใช้งาน
- เก็บหัวจ่ายออกซิเจนให้ห่างจากผนังหรือผ้าม่าน 1-2 เมตร
- มีถังดับเพลิงบริเวณใกล้เคียงเสมอ
- ทำความสะอาดผิวถังออกซิเจนการแพทย์ด้วยแอลกอฮอล์ 70% ก่อนส่งคืนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค + ปิดหัววาล์วให้สนิทด้วยนะ

2. เครื่องผลิตออกซิเจนไฟฟ้า : ควรเลือกที่ผ่านการรับรองจาก อย. ซึ่งขนาดผลิตได้อย่างน้อย 5 ลิตร/นาที โดยควบคุมกำลังผลิตอยู่ที่ 82-96% (ถ้ามีสัญญาณเตือนต่ำกว่า 82% ควรซ่อมบำรุงเครื่องทันที)


ส่วนถ้าหากท่านใดสนใจถังออกซิเจน หรือ เครื่องผลิตออกซิเจนไฟฟ้า สามารถติดต่อเราที่ @kuanglee ค่ะ ดูแลตัวเองกันด้วยนะคะ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้