การเชื่อมแก๊ส คือการทำให้โลหะประสานกันโดยใช้ความร้อนจากอาร์คที่เกิดขึ้นระหว่างโลหะกับลวดเชื่อม โดยการเชื่อมจะใช้เปลวไฟที่เกิดจากการสันดาป ระหว่างแก๊สเชื้อเพลงกับอากาศ
แก๊สหุงต้ม LPG | แก๊สอะเซทิลีน AC | |
อุณหภูมิ | ให้ความร้อนสูงสุดได้ถึง 3,480 °C | ให้ความร้อนสูงสุดได้ถึง 2,930 °C |
ความบริสุทธิ์ | มีส่วนผสมของสารที่ทำให้เกิดฟองอากาศในแนวเชื่อม อาจส่งผลให้มีรอยแตกและเปราะง่าย | มีความบริสุทธิ์ของแก๊สค่อนข้างมาก ทำให้งานเชื่อมสวย เนี๊ยบ และแข็งแรงกว่า |
ลักษณะ | น้ำหนักเบากว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหล่จะทิ้งรวมในที่ต่ำ | เมื่อเกิดการรั่วไหล จะขึ้นไปอยู่ด้านบน |
แรงดัน | แรงดันสูงถึง 60 PSI (4 bar) ซึ่งถือว่าเป็นแรงดันขนาดสูง ตัดเหล็กทั่วไปได้อย่างรวดเร็ว เหล็กหนา เช่น เหล็กไวด์แฟรงค์ เอชบีม หรือไอบีม ตัดได้สบายๆเลยค่ะ | แรงดันเพียง 20 PSI (1.5 bar) |
หัวเชื่อม | หัวเชื่อมแก๊ส AC คือ HARRIS 62-5F | หัวเชื่อมแก๊ส AC คือ HARRIS 43-2F / HARRIS 19-6 (F) |
ราคา | ราคา LPG ถูกและหาซื้อง่าย | ราคา AC แพงกว่า บางพื้นที่อาจหาซื้อได้ยาก |
การรับรอง | กฎหมายของกระทรวงพลังานได้มีการตรวจสอบและทดสอบสภาพถังด้วย Hydro Test ทุกๆ 5 ปี ถ้าหากไม่ผ่านเกณฑ์จะต้องทำลายทิ้ง | ยังไม่มีกฎหมายบังคับในการตรวจสอบสภาพ อายุการใช้งานซ้ำค่อนข้างนาน |
สรุปแล้วแก๊สทั้งสองตัวเหมาะกับการใช้งานที่ต่างกัน ถ้าจะเชื่อมเหล็กเพื่อความสวยงาม จะต้องเป็น AC ส่วนถ้าต้องการตัดเหล็กเร็วก็ควรใช้กับ LPG ค่ะ
ส่วนท่านใดที่กำลังมองหาแก๊สAC LPG หรือแก๊สอื่นๆ หรือชุดตัดต่างๆ สามารถสอบถามเราได้ทาง @kuanglee นะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
www.thaiweldingstore.com
www.kovet.com