หน่วยงานฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลได้บันทึกคำแนะนำวิธีการใช้ออกซิเจนที่บ้านชนิดถัง และการทำความสะอาดไว้ว่า
วิธีการใช้ออกซิเจนชนิดถัง
1. เชื่อมต่อ มาตรวัดอัตราการไหลของออกซิเจน + มาตรวัดความดัน + ข้อต่อมาตรวัดออกซิเจน + ถังออกซิเจน เข้าด้วยกันโดยใช้ประแจหมุนให้แน่นเพื่อป้องกันออกซิเจนรั่ว
2. ใส่น้ำดื่มหรือน้ำกรองในกระป๋องออกซิเจน โดยให้ระดับน้ำอยู่ในระดับเครื่องหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้ความชื้นขณะให้ออกซิเจน
3. *ห้ามใส่น้ำต้มในกระป๋องออกซิเจน เพื่อป้องกันตะกรันของน้ำต้มทำให้กระป๋องอุดตัน
4. ต่อสายออกซิเจนเข้ากับรูที่ฝากระป๋องออกซิเจน
5. เปิดวาล์วถังออกซิเจนอย่างช้าๆ ก่อนเปิด ปุ่มเปิด/ปิด ปริมาณถังออกซิเจน ให้สังเกตุว่าลูกลอยอยู่ที่เลขศูนย์หรือไม่
* ถ้าไม่อยู่ที่เลขศูนย์ > ให้ ‘ปิด’ ปุ่มปิด-เปิดปริมาณออกซิเจนทันที เพื่อป้องกันลูกลอยชนหลอดแก้ว หรือ มาตรวัตอัตราการไหลของออกซิเจนแตกได้
6. หมุนปุ่มปิด-เปิดออกซิเจน ลูกลอยจะสูงขึ้นตามปริมาณออกซิเจนที่เปิด ปรับให้เท่ากับแผนการรักษาของแพทย์และต่อปลายสายของสายออกซิเจนเข้ากับผู้ป่วย
การทำความสะอาดอุปกรณ์
- ถังออกซิเจน + มาตรวัดอัตราการไหลของออกซิเจน > ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆเช็ดทำความสะอาด
- กระป๋อง > เปลี่ยนน้ำในกระป๋องและล้างด้วยน้ำสบู่ทุกวัน
- แผ่นยางที่สวมภายในฝาครอบกระป๋อง > ถอดแผ่นยางที่สวมภายในฝาครอบกระป๋องมาล้างให้สะอาดวันละ 1 ครั้ง
- สายให้ออกซิเจนทางจมูก > ใช้ไม้พันสำลีถูล้างคราบเสมหะให้สะอาดและเปลี่ยนสายหากสกปรกมาก
*ข้อควรรู้*
- ห้ามเติมปริมาณน้ำในกระป๋องออกซิเจนมาก หรือ น้อยเกินไป (มากไป = ละอองน้ำไหลเข้าในมาตรวัดออกซิเจน / น้อยไป = ทำให้ออกซิเจนที่ได้รับขาดความชื้นได้)
- ต้องหมุนเกลียวข้อต่อมาตรวัดออกซิเจนให้ตรงกัน เพื่อป้องกันออกซิเจนรั่วจากการปีนเกลียวของข้อต่อมาตรวัดออกซิเจน
- ในระหว่างที่ให้ออกซิเจนควรสังเกตุอาการผิดปกติ
- ขณะให้ออกซิเจน เช่น ผู้ป่วยซึมลง สับสน สีผิวหรือริมฝีปากคล้ำ หายใจช้าแผ่วเบาหรือเร็วผิดปกติ (การหายใจปกติ = 16-24 ครั้ง/นาที)
ถ้าเกิดการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://med.mahidol.ac.th/ramanursing/sites/default/files/public/pdf/brochures/Home%20O2_chapter%202.pdf