รวมความหมายตัวอักษรบนเหล็กเส้น

รวมความหมายตัวอักษรบนเหล็กเส้น

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้มีการบังคับให้กำหนดมาตรฐานสำหรับเหล็กเส้นกลม (มาตรฐาน มอก.20-2559) และเหล็กข้ออ้อย (มอก. 24-2559)ให้ตีตราปั้มโดยระบุดังนี้

ตำแหน่งนับจากซ้ายไปขวา
1. ชื่อหรือโรงงานผู้ผลิตตามการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เช่น SCG หรือ TATA หรือในกรณีที่เป็นสินค้านำเข้า ให้ระบุผู้ที่ได้รับอนุญาตจัดจำหน่าย

2. ประเภท หรือขนาดของเหล็ก เช่น DB12 DB16 RB6 หรือ RB12

3. ชั้นคุณภาพและกระบวนการผลิต โดย SD จะระบุสำหรับชั้นคุณภาพของเหล็กข้ออ้อย (เช่น SD40 SD50) และ SD ระบุชั้นคุณภาพของเหล็กเส้นกลม (เช่น SR24)

*บางชนิดอาจมีตัว ’T’ ตามหลัง ที่เป็นการบ่งบอกถึงเหล็กที่ผ่านกระบวนการทางความร้อนและนำไปทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็วจนได้คุณสมบัติทางกล โดยจะมีความแข็งแรงบริเวณรอบนอกอย่างมาก จึงไม่ควรนำไปใช้ในการกลึงหรือลดขนาดเหล็กในการนำไปใช้งานหรือทดสอบ ส่วนเหล็กที่ไม่มี ’T’ หรือ เหล็ก Non-T จะมีราคาสูงกว่า เพราะเติมสารพิเศษเข้าไป ทำให้เหนียว ทนต่อการดัดโค้งได้ดีและหายากในท้องตลาด โครงสร้างของเหล็ก Non-T จะเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมดและมีความแข็งแรงเท่ากันตลอดหน้าตัด

4. ชนิดของการหลอมเหล็ก โดยในประเทศไทยมี 2 วิธี คือ
- EF : กระบวนการผลิตเหล็กให้มีความบริสุทธิ์ สะอาด และมีการผสมสารต่างๆลงไปเพื่อให้เหล็กมีความแข็งแรงมากขึ้น โรงงานผลิตในประเทศจะใช้วิธีนี้ แต่ด้วยต้นทุนที่สูงและสู้ราคาเหล็กถูกกว่าจากประเทศจีนไม่ไหว ในบางโรงงานจึงได้หยุดทำไป
- IF : เหล็กทั่วไปที่ผ่านกระบวนการผลิต ไม่สามารถทำให้เหล็กสะอาดหรือบริสุทธิ์ได้ มีสิ่งเจือปน แต่เนื่องจากเหล็กเหล่านี้ไม่สามารถทำการผลิตในประเทศจีนได้ ด้วยกฎหมายที่ห้ามผลิตเนื่องจากก่อมลพิษสูง จึงมีการผลิตจากโรงงานจีนที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยโรงงานเหล่านี้ได้รับ มอก. ตามกฎหมาย

บนความเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับเหล็กตัว 'T'

ขอบคุณข้อมูลจาก All about บ้าน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้