เพราะในการก่อสร้างไม่สามารถใช้เหล็กชิ้นเดียวยาวตลอดทางได้ ฉะนั้นสำหรับการต่อความยาวของเหล็กเส้นกลม หรือเหล็กข้ออ้อยที่ใช้เป็นเหล็กเสริมคอนกรีตจำเป็นต้อง ‘ทาบเหล็ก’ อย่างถูกวิธีและไม่กระทบกับการรับกำลังของงานโครงสร้างด้วย โดยควรเป็นไปตาม ‘มาตรฐานก่อสร้างของกรมโยธาธิการและผังเมือง’ มยผ. 1103-52 ซึ่งกำหนดไว้
ระยะทาบ (ทับซ้อนกัน) จำหลักๆว่าต้องมีระยะไม่น้อยกว่า 40 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กข้ออ้อยที่มาทาบต่อกัน เช่น เหล็กเส้นกลม 16 มม. มาต่อกัน ระยะทาบอย่างน้อยคือ 16 มม x 40 = 640 มม. (64 ซม.) จะยาวกว่าระยะนี้ก็ได้ (อาจสิ้นเปลือง) แต่ห้ามสั้นกว่าเด็ดขาด
*และหากทาบเหล็กที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้ยึดเหล็กที่ใหญ่กว่าเป็นหลัก
สำหรับเหล็กเส้นที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 25 มม. ขึ้นไป จะไม่นิยมใช้การทาบเหล็กเพราะขนาดใหญ่เกินไป ตำแหน่งจะเยื้องศูนย์กลางได้ง่าย จึงนิยมใช้ปลอกหรือข้อต่อเหล็กเป็นตัวเชื่อมมากกว่า
ตำแหน่งที่ทาบเหล็กวิศวกรจะเป็นผู้คำนวณและออกแบบไว้ โดยหลีกเลี่ยงจุดที่ต้องรับแรงในระบบการถ่ายแรงโดยรวมของโครงสร้าง เช่น โครงสร้างคานจะมีเหล็กเสริมสองชุด คือ เหล็กเสริมบนและล่าง เหล็กเสริมบนห้ามทาบเหล็กบริเวณรอยต่อระหว่างคานกับหัวเสา ส่วนเหล็กเสริมล่างห้ามทาบเหล็กบริเวณตรงกลางคาน เพราะทั้งสองต่ำแหน่งเป็นจุดที่ต้องรับแรงดึงมากที่สุดในโครงสร้างคาน
อย่างไรก็ตาม หากไม่มีกำหนดในแบบแปลน ควรยึดตามหลักมาตรฐานการก่อสร้างของ มยผ. 1103-52 ซึ่งกำหนดไว้ (ในตาราง)
หากท่านใดสนใจเหล็กคุณภาพดี คุณภาพ มอก. เพื่อใช้ในการก่อสร้าง สามารถสอบถามหรือสั่งซื้อได้ทาง Line OA @kuanglee นะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
www.scgbuildingmaterials.com
www.ktmsteel.com