เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar)
ช่วยในเรื่องความแข็งแรง เช่น อาคารสูง คอนโดมิเนียม ถนนคอนกรีต สะพาน เขื่อน สนามบิน บ่อหรือสระน้ำ มีลักษณะผิวเป็นบั้ง ปล้องๆอยู่ตลอดทั้งเส้น เพื่อรับแรงและน้ำหนักได้มากกว่าเหล็กเส้นกลมเรียบ ช่วยยึดเกาะระหว่างเนื้อคอนกรีตกับเหล็ก โดยแบ่งหลักๆอยู่ 2 ประเภท คือ
• เหล็กโรงใหญ่/เหล็กเต็ม - เส้นผ่านศูนย์กลางและน้ำหนักของเหล็กได้มาตรฐาน มอก.24-2559 หรือ SR24 นั่นเอง ที่หมายถึงการต้านทานแรงดึง ณ จุดคราก (Yield Strength) ที่ไม่ต่ำกว่า 24 กก/ตรม. และ มอก. 943-2533 ลวดเหล็กกล้าข้ออ้อยดึงเย็นเสริมคอนกรีต ตั้งแต่ 4-9 มิลลิเมตร
• เหล็กโรงเล็ก/เหล็กเบา - คือได้น้ำหนักเส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่ามาตรฐาน มอก. ซึ่งเป็นเหล็กที่มักนำไปรีดซ้ำ เหล็กจะเบาและมีรำคาต่ำกว่าประมาณ 40 สตางค์ - 1 บาท ต่อ 1 กิโล ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ แต่อาจเสี่ยงกับอันตรายเพราะน้ำหนักเบาเกินไป

ฉะนั้นควรเลือกพิจารณาเลือกใช้งานให้เหมาะสม โดยสังเกตุจากผิวเหล็กที่มีระยะบั้งเท่ากันตลอดทั้งเส้น เส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักต้องถูกต้อง เมื่อดัดโคงแล้วต้องไม่ปริแตกหักง่าย โดยเกรดของเหล็กข้ออ้อยจะแบ่งออกเป็น 3 เกรดหลักคือ 

• SD30 / SD30T - จุดคลากไม่ต่ำกว่า 3,000 กก/ตรม.
• SD40 / SD40T - จุดคลากไม่ต่ำกว่า 4,000 กก/ตรม.
• SD50 / SD50T - จุดคลากไม่ต่ำกว่า 5,000 กก/ตรม.

ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของโครงสร้าง โดยทั่วไปแล้วเหล็กข้ออ้อยจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่เห็นกันในท้องตลาดจะเป็น 12 และ 16 มิล แต่เค้าก็ยังมี 10, 20, 25, และ 28 มิล นะคะ แต่ต้องสั่งพิเศษหน่อย ทั้ง  10 และ 12 เมตรเลยค่ะ มีทั้งแบบพับและตรง (แต่ 12 เมตรจะมีแค่แบบตรงนะคะ) ส่วนสัญญาลักษณ์ที่เราเคยเห็นกันคือ เหล็กตัว T และ เหล็ก Non T เราก็มีเช่นกัน เหล็กตัว T คือเหล็กที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนและพิมพ์ตัว T เป็นสัญลักษณ์ค่ะ ท่านใดสนใจ...สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้นะคะ

ข้อมูลเพิ่มเติมเหล็กตัว T / เหล็ก Non-T


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้